[Q & A] ควรหย่านมแม่หลัง 6 เดือนจริงหรือ ?

[Q & A] ควรหย่านมแม่หลัง 6 เดือนจริงหรือ ?

Q : มีคนบอกว่านมแม่หลัง 6 เดือนไปแล้วสาอาหารในนมจะไม่เพียงพอสำหรับลูก จึงควรให้ลูกหย่านมเมื่อครบ 6 เดือน ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่คะ

A : น้ำนมแม่เมื่อไรก็ยังมีประโยชน์เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องภูมิคุ้มกัน องค์การอนามัยโลก UNICEF และกระทรวงสาธารณสุขของไทย ก็สนับสนุนให้เด็กๆ กินนมแม่อย่างเดียวจนถึง 6 เดือน หลังจากนั้นให้กินต่อไปร่วมกับอาหารเสริมตามวัย ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาของอวัยวะที่เกี่ยวกับการเคี้ยวกลืนทำงานและพัฒนาได้เต็มที่

ในช่วงปีแรกๆ นมก็ยังเป็นความต้องการของเด็ก จนกว่าระบบการย่อยของลูกจะเติบโตพร้อมรับอาหารอย่างอื่นเต็มที่ ทั้งนี้หมายถึงการเริ่มอาหารอื่นเมื่อถึงวัยอันเหมาะสมหลังจากอายุ 6 เดือนร่วมกับการกินนมแม่ยังเป็นสิ่งที่ดี และให้ประโยชน์ต่อการเติบโตของเด็กได้เป็นอย่างดี คุณแม่ไม่จำเป็นต้องหย่านมแม่เมื่ออายุครบ 6 เดือนไปแล้ว  แต่ลองพยายามทำต่อไปอีกสักหน่อยนะคะ หลังจาก 6 เดือน ลูกจะมีความจุของกระเพาะอาหารมากขึ้น ตะกินได้มากครั้งกว่า การดูดนมแม่ก็จะลดจำนวนครั้งลงไปบ้าง โดยเฉพาะมื้อดึก ก็มักไม่ตื่นมาดูดนมบ่อยๆ แล้ว ขณะเดียวกันการกินอาหารชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้นตามวัย เช่น เมื่ออายุ 1 ขวบก็จะกินอาหารวันละ 3 มื้อ ลักษณะอาหารของลูกก็จะเริ่มบดจนนิ่มเละในช่วงแรก แล้วค่อยพัฒนาให้มีลักษณะหยาบแข็งขึ้น ทั้งนี้เพื่อให้อวัยวะที่เกี่ยวกับการเคี้ยวกลืนได้พัฒนาไปตามวัย

ดังนั้นจึงไม่เป็นความจริงเลยที่กล่าวว่า ในนมแม่หลัง 6 เดือน จะมีสารอาหารไม่เพียงพอสำหรับลูก แต่เป็นเพราะลูกเริ่มต้องการการพัฒนาของกล้ามเนื้อ และส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมากกว่าตอนที่เป็นเด็กเล็ก ซึ่งยังไม่มีน้ำย่อยบางชนิด ไม่มีฟันบดเคี้ยวอาหาร ระบบการทำงานของร่างกายยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อการกลืน การย่อย ยังไม่พร้อม เมื่อผ่านมาได้ระยะที่พอเหมาะก็ต้องเพิ่มบางส่วนเข้าไป เราคงไม่สามารถจะบอกให้ว่าผักดีกว่าผลไม้ เพราะเราต้องการทั้งสองอย่างเพื่อสุขภาพของเรา เราต้องกินอาหารให้ครบห้าหมู่ ต้องออกกำลังกายและต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอถึงจะมีสุขภาพดี ไม่ใช่อาหารนั้นไม่ดีพอหรือคุณภาพลดต่ำไป จึงเอาอย่างอื่นมาเพิ่มเข้าไป

น้ำนมแม่มีความเฉพาะเจาะจงตรงตามความต้องการของลูกเสมอ คุณค่าและสารอาหารนั้นไม่ใช่จะลดลงจนหมดคุณค่า แม่ที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำนมที่เหมาะกับลูกที่เกดก่อนกำหนด เพราะการปรับเปลี่ยนส่วนประกอบแบบนาทีต่อนาที น้ำนมแม่ตอนท้ายเต้าที่ลูกดูดจนเกลี้ยง ยังมีการเปลี่ยนแปลงของสารอาหารให้เห็นกันมาแล้ว หลัง 6 เดือน น้ำนมแม่ยังมีปริมาณวิตามินเอ วิตามินซี ไขมันและสารอาหรอื่นๆ อยู่มาก จะช่วยให้เด็กที่เริ่มกินอาหารได้ในปริมาณน้อย ตามขนาดกระเพาะอาหารของเขา ได้รับวิตามินและสารอาหารอื่นๆ มีในนมแม่ได้อย่างเต็มที่ คุณแม่จึ้งควรดูแลสุขภาพ โดนการกินอาหารครบทั้งห้าหมู่ โดยเฉพาะผักสดสีเขียว ปลาเล็กที่กินได้ทั้งตัว ตับ เนื้อสัตว์ที่มีเนื้อสีแดง ไข่แดง ฯลฯ เพื่อนป้องกันอาหารเลือดจางของคุณแม่ และจะได้ผลิตย้ำยมที่มีคุณภาพให้คุณลูกไงคะ

บางการศึกษาพบว่าน้ำนมแม่ที่ให้ลูกอายุหลัง 1 ปี จะมีปริมาณไขมันเพิ่มมากขึ้น เมื่อลูกอายุ 1-2 ขวบ ปริมาณไขมันเพิ่มขึ้น เมื่อลูกอายุ 1-2 ขวบ ปริมาณน้ำนมแม่ที่ลูกกินในแต่ละวัน(ประมาณ 448 ซี.ซี. หรือ 15 ออนซ์) ให้พลังงานถึง 29% ของพลังงานจากสารอาหารที่ลูกต้องการ และพบว่ามีปริมาณสารอาหารทีร่างกายลูกต้องการดังนี้ โปรตีน 43% แคลเซียม 36% วิตามินซี 60% วิตามินเอ 75% โฟเลต 76% วิตามินบี12 94%

อ่านแล้วคงสบายใจขึ้นบ้างแล้วนะคะ ให้กินนมแม่ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าลูกจะเปลี่ยนใจไปจากนมแม่แล้วกันนะคะ


ขอขอบคุณ : นิตยสาร MODERNMOM ค่ะ

 

ความคิดเห็น